ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แบรนด์เสื้อผ้า ESSENTIALS จาก Fear of God กลายเป็นที่นิยมในหมู่คนรักแฟชั่นด้วยดีไซน์มินิมอลแต่ดูมีระดับ ราคาที่เข้าถึงได้เมื่อเทียบกับแบรนด์ลักชัวรีอื่น ๆ และการเป็นสัญลักษณ์ของสไตล์สตรีทเวียร์ที่ทันสมัย ทว่าความนิยมนี้ก็ดึงดูดทั้งผู้ขายของแท้และผู้ค้าของปลอมให้ออกมาหลอกลวงผู้บริโภค โดยเฉพาะบนโลกออนไลน์ที่เต็มไปด้วยร้านค้านับไม่ถ้วน
ซื้อ Essentials จากที่ไหน ซื้ออย่างไร ให้ไม่เจอของปลอม

เกริ่นนำ
ของปลอมเต็มตลาด! คนนั้นโดนหลอกอีกแล้ว! กลัวแล้ว ไม่กล้าซื้อแล้ว! หยุดก่อนเลย อย่าพึ่งกลัว เมื่อแบรนด์ ESSENTIALS เติบโตขึ้น มีชื่อเสียงมากยิ่งขึ้นขึ้น ทวีความร้อนแรงขึ้น เกิดปรากฏการณ์ความนิยมระดับโลก ก็เป็นธรรมดาที่ในตลาดจะมีของปลอมหลุดออกมาขาย เพราะหากคนไม่อยากได้มาครอบครอง ก็คงไม่มีของปลอมในตลาดหลุดออกมา แล้วเราจะทำอย่างไรไม่ให้เป็นหนึ่งในคนที่โชคร้าย ตั้งใจจะซื้อ แล้วเจอของปลอม มันป้องกันได้ไหม? เรามาหาคำตอบในบทความวันนี้กัน
>>> ทำไมแบรนด์ ESSENTIALS ได้รับความนิยมอย่างสูง
แบรนด์ ESSENTIALS ระเบิดความนิยมขึ้นแทบชั่วข้ามคืนจนกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งสตรีทแวร์ระดับโลก ไม่ใช่แค่เพราะดีไซน์ที่ดูดี แต่เพราะมันตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ที่ต้องการความเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยความหรูหราในราคาที่จับต้องได้ ตั้งแต่ก่อตั้งในปี 2013 โดย Jerry Lorenzo นักออกแบบชาวอเมริกันผู้อยู่เบื้องหลังแบรนด์หรู Fear of God ESSENTIALS ถูกสร้างมาเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงเสื้อผ้าคุณภาพสูงที่ผสมผสานความคลาสสิกเข้ากับสไตล์สตรีทได้อย่างลงตัว
ดีไซน์เรียบง่ายแต่มีเอกลักษณ์
- ESSENTIALS เน้นโทนสีกลาง ๆ เช่น ดำ, ขาว, เทา และใช้ลายพิมพ์คำว่า "ESSENTIALS" แบบตัวหนาเป็นลายเซ็นหลัก ช่วยให้มิกซ์แอนด์แมตช์กับชุดอื่นได้ง่าย ไม่ว่าคุณจะแต่งลุคสปอร์ตี้หรือสไตล์แคจวลก็โดดเด่นไม่ตกเทรนด์ แถมเสื้อแต่ละตัวตัดเย็บจากผ้า Cotton 100% นุ่มสบาย ใส่ได้ทุกวันโดยไม่ระคายผิว
ราคาเข้าถึงได้ (เมื่อเทียบกับแบรนด์หรูอื่นๆ)
- แม้จะเป็นแบรนด์ลูกของ Fear of God ที่มีราคาสูงลิ่ว แต่ ESSENTIALS ตั้งราคาให้คนทั่วไปซื้อได้ โดยยังคงคุณภาพการผลิตระดับพรีเมียม ราคาอยู่ที่หลักพันถึงเกือบหมื่นบาท ซึ่งถือว่า "คุ้มค่า" เมื่อเทียบกับอายุการใช้งานที่ยาวนาน
การสนับสนุนจากคนดังระดับโลก
- เมื่อเหล่าเซเลบริตี้อย่าง Justin Bieber, Jackson Wang หรือ LeBron James ใส่เสื้อ ESSENTIALS ออกสื่อบ่อยครั้ง แบรนด์นี้ก็กลายเป็นสัญลักษณ์ของความเท่ที่ไม่ต้องพยายามมาก แค่สวมชิ้นเดียวก็เพิ่มระดับให้ลุคทันที
ตอบโจทย์เทรนด์แฟชั่นยุคใหม่
- คนหันมาใส่ใจความยั่งยืนและเสื้อผ้าใช้งานได้หลายสไตล์ ESSENTIALS โดดเด่นด้วยดีไซน์มินิมอลที่ใส่ได้แม้เวลาผ่านไป 10 ปีก็ยังไม่เชย แถมยังสอดคล้องกับกระแส Athleisure ที่เน้นทั้งสวยและสะดวก
>>> ซื้อ ESSENTIALS จากที่ไหนมีโอกาสเจอของปลอมบ้างในประเทศไทย
ช่องทางออนไลน์ที่ไม่สามารถระบุตัวผู้ขายได้
- เช่นร้านค้าทั่วไปในแพลตฟอร์มขายของอ Shopee, Lazada, Kaidee หรือ Facebook Marketplace ซึ่งจะมีการอ้างขายว่าเป็นของแท้ แม้จะมี Review แต่ให้เราตรวจสอบให้ดีว่าร้านใช้กลยุทธ์รีวิวปลอมไหม ใช้บัญชีหน้าม้าให้คะแนนสูง 4.8-4.9 ดาว ไหม วิธีสังเกตคือรีวิวส่วนใหญ่เขียนด้วยชื่อแปลก ๆ เช่น “u94sf562133” มีรูปภาพสินค้าไม่ชัดเจน
เพจเฟซบุ๊กปลอมลอกเลียนแบบ
- มิจฉาชีพอีกแบบหนึ่งคือสร้างเพจปลอมโดยคัดลอกรูปภาพ สไตล์การโพสต์ หรือแม้แต่ชื่อร้านจากเพจจริง เพื่อหลอกขายสินค้า วิธีเช็คเพจแท้ คือให้เราดูจำนวนผู้ติดตาม และดูอายุของเพจจาก (ไปที่ About และไปที่ Page Transparency) เพจจริงมักมีผู้ติดตามสูงและอายุเพจนาน
ร้านค้าตามตลาดนัด หรือห้างที่มีรูปแบบคล้ายคลึงกัน
- ยกตัวอย่างเช่นตลาดประตูน้ำจะมีร้าน แม้บอกว่าขายเสื้อแบรนด์เนม แต่อาจผสมสินค้าปลอมเข้าไปด้วย โดยอ้างว่าเป็นของแท้จากต่างประเทศ ซึ่งหากเป็นไปได้ ให้เราหลีกเลี่ยงซื้อจากร้านจำพวกนี้ หากเรายังไม่มั่นใจว่า ร้านนี้เอาของแท้ หรือของปลอมมาขาย และคุณยังแยกไม่ออก
ผู้ขายมือสองใน Facebook Group
- การซื้อจากกลุ่มขายของมือสองในกลุ่มเฟซบุ๊กที่ไม่ได้นัดเจอกัน อาจจะมีความเสี่ยงสูง แม้ในรูปเขาเอารูปรายละเอียดทั้งหมดให้ดู แต่มีความเป็นไปได้ว่ารูปนั้นๆ อาจจะเอาของแท้มาถ่ายส่งให้คุณ และเมื่อเราชำระเงิน เขาอาจจะส่งสินค้าของปลอมให้กับคุณได้
แผงลอยตามแหล่งท่องเที่ยว
- ร้านค้าแผงลอยตามสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม เช่น ถนนข้าวสาร หรือตลาดนัดสวนจตุจักร มักมีสินค้าปลอมแบรนด์ดังวางขายปะปนกับสินค้าทั่วไป โดยอ้างว่าเป็นของแท้ราคาถูก ซึ่งมีโอกาสสูงที่จะเป็นของปลอม
เว็บไซต์ขายของจากต่างประเทศ
- เว็บไซต์ขายของจากต่างประเทศที่ไม่ใช่ตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ อาจนำเข้าสินค้าปลอมมาขาย โดยเฉพาะเว็บไซต์ที่มีราคาถูกผิดปกติ ควรตรวจสอบความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ก่อนสั่งซื้อ
>>> ถ้าซื้อ ESSENTIALS มือสองต้องระวังอะไรบ้าง
ซื้อมือสองได้ แต่ต้อง “ไม่ไว้ใจจนเกินไป” เพราะแม้จะได้ราคาที่ถูกกว่าซื้อมือหนึ่ง แต่ความเสี่ยงก็สูง ดังนั้นอย่าเพิ่งใจร้อนโอนเงิน เราจะแนะนำให้ตรวจสอบ 4 ข้อนี้ก่อน มาดูกันว่าเราควรตรวจสอบอะไรบ้างเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเจอของย้อมแมว
- 1. ของแท้หรือไม่? อย่าไว้ใจแค่รูปภาพ : ผู้ขายบางรายใช้รูปภาพของแท้จากอินเทอร์เน็ตมาหลอกขายของปลอม พอส่งของมาถึงมือคุณกลับเป็นคนละชิ้น วิธีแก้คือขอรูปถ่ายสินค้าแบบ Real Time พร้อมเขียนชื่อคุณหรือวันที่บนกระดาษวางคู่กับสินค้า เพื่อยืนยันว่าของอยู่ในมือผู้ขายจริง สังเกตรายละเอียดสำคัญ เช่น ป้ายแท็กต้องมีสติกเกอร์รหัสแท้จากแบรนด์, ลายสกรีนคำว่า "ESSENTIALS" ตัวอักษรต้องชัด ไม่ลอกล่อน, และคุณภาพเนื้อผ้าของแท้เนื้อผ้านุ่มหนา ไม่บางจนเห็นใยผ้า
- 2. ราคาถูกมาก ๆ : ถ้าเจอเสื้อ ESSENTIALS มือสองสภาพใหม่เอี่ยมแต่ราคาต่ำกว่าตลาด 50-70% (เช่น ควรอยู่ที่ 3,000 บาท แต่ขายแค่ 1,000 บาท) ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า “น่าสงสัย” เพราะของแท้แม้ใช้แล้วก็ยังมีมูลค่าสูง เปรียบเทียบราคากับร้านค้าออนไลน์อย่างเป็นทางการหรือผู้ขายมือสองที่น่าเชื่อถือ ถ้าผิดเพี้ยนมากเกินไปให้หนีเลย
- 3. เช็กประวัติผู้ขายแบบละเอียดยิบ : ในแพลตฟอร์มอย่าง Facebook Marketplace หรือกลุ่มขายของมือสอง ดูว่าโปรไฟล์ผู้ขายมีประวัติการขาย-ซื้อยาวนานไหม มีคนคอมเมนต์รีวิวดีหรือโดนแจ้งหลอกลวงบ้าง ถ้าผู้ขายเพิ่งสร้างบัญชีได้ไม่กี่วัน มีแต่รูปสินค้าแบรนด์เนมราคาถูก ให้เสี่ยงสูงว่าเป็นมิจฉาชีพ
- 4. โอนก่อนที่จะเห็นสินค้าจริง : ห้ามโอนเงินล่วงหน้า 100% โดยไม่เห็นสินค้าจริง หรือไม่ใช้บริการเก็บเงินปลายทาง (COD) หากนัดเจอตัว ให้เลือกสถานที่สาธารณะเช่น ห้างสรรพสินค้า และตรวจสอบสินค้าทันที หากพบข้อผิดพลาดสามารถยกเลิกการซื้อได้ตรงนั้น
- 5. ให้ตรวจสอบสภาพสินค้าให้ละเอียด : ของมือสองอาจมีตำหนิที่ผู้ขายไม่บอก เช่น คราบเหลือง รอยขาดเล็กน้อย หรือสีตก ต้องขอรูปถ่ายทุกมุมและถามตรงๆ ว่า “มีจุดไหนเสียหายไหม” ให้เราถามให้เขาถ่ายวิดีโอ หรือคุยแบบเปิดกล่องเพื่อตรวจสอบทุกๆ มุมตามที่เราต้องการ
ฝากไว้ : ถ้าซื้อมาแล้วเจอของปลอมต้องทำอย่างไร?
ก่อนอื่นหากดเราเป็นไปได้ ทุกอย่างที่เราซื้อมาจากช่องทางออนไลน์ ในขณะที่เปิดกล่อง ให้เราถ่าย Video เอาไว้ จนถึงขั้นตอนที่เราตรวจสอบว่าเป็นของแท้ หรือของปลอม หากเราตรวจสอบอย่างดีแล้ว คิดว่าแน่ใจแล้ว ว่าเราเจอของปลอม ก็ให้เราอัดคลิปและระบุจุดสังเกตว่า ส่วนใดที่เราสงสัยว่าเป็นของปลอม
หลังจากนั้นให้เรารวบรวมหลักฐานทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขาย ไม่ว่าจะเป็นใบเสร็จ รูปสลิปโอนเงิน หรือแชทติดต่อกับผู้ขาย เพื่อใช้ในการดำเนินการต่อไป ติดต่อผู้ขายทันทีที่ตรวจพบว่าสินค้าเป็นของปลอม โดยแจ้งปัญหาอย่างสุภาพพร้อมแสดงหลักฐานประกอบ หากซื้อผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง Shopee หรือ Lazada ให้เปิดข้อพิพาทผ่านระบบของแพลตฟอร์มนั้นๆ ทันที เพราะจะมีทีมงานคอยช่วยไกล่เกลี่ยและคุ้มครองผู้ซื้อ
หากผู้ขายไม่ยอมรับผิดชอบ เราสามารถร้องเรียนไปยังสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) หรือศูนย์ดำรงธรรม เพื่อขอความช่วยเหลือในการเจรจาและเรียกร้องความเป็นธรรม นอกจากนี้ยังควรรายงานร้านค้าที่ขายของปลอมให้กับแพลตฟอร์มที่ใช้ซื้อขาย เพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้เสียหายรายอื่นตามมา ในกรณีที่มูลค่าความเสียหายสูงและผู้ขายปฏิเสธความรับผิดชอบ เราสามารถเก็บหลักฐานทั้งหมดไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ เพื่อดำเนินคดีกับผู้ขายในข้อหาฉ้อโกงและละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา แต่การฟ้องร้องอาจใช้เวลานาน แต่อย่างน้อยดีที่สุดที่เราทำได้แล้ว หากเราไม่ได้จ้างทนายความ
บทความที่น่าสนใจ
หากคุณดูชื่อคำว่า “Fear of God” คุณอาจเข้าใจว่านี่เป็นเพียงแบรนด์แฟชั่นทั่วไปที่ใช้ชื่อพระเจ้าเพื่อสร้างกระแส แต่ความจริงแล้ว แบรนด์นี้มีความหมายลึกซึ้งกว่านั้นมาก เจอร์รี่ โลเรนโซ ผู้ก่อตั้งและนักออกแบบแบรนด์ Fear of God เป็นคริสเตียนที่ไม่เคยปิดบังความเชื่อของตน แต่เขาก็ไม่ได้ใช้สิ่งนี้เป็นจุดขาย